• วิธีการและเครื่องมือที่ทำให้การพัฒนาระบบเร็วขึ้นโดยเฉพาะระบบที่มี user เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นส่วนสำคัญ เช่น การนำโปรแกรมเก่ามาเรียบเรียงใหม่ RAD สามารถทำให้โปรแกรมเสร็จเร็ว เวลาทำควรอยู่ใน 60-90 วัน โดยใช้ Tool ต่าง ๆ
Joint Application Development (JAD)
• เป็นแนวคิดของของบริษัท IBM คือทำอย่างไรให้คนที่เกี่ยวข้องกับ Requirement มาตัดสินใจร่วมกัน โดยทำแบบ Workshopร่วมกัน คนที่จะมาร่วมปรึกษาหารือกันตัดสินใจร่วมกัน ได้แก่
– Euceutive Sponsor - ผู้บริหารระดับสูง เชิญมาเพื่อมีอำนาจในการตัดสินใจ
– Project Manager หรือ Project Leader
– Facilitator เช่น Consultant หรือ ผู้ที่เคยทำ , คนในองค์กรที่มีประสบการณ์
– Recorder / Clerk / Secretary เช่น คนจดรายงาน
– Participants คนที่เกี่ยวข้อง เช่น user ที่เกี่ยวข้อง
– IT Development เช่น โปรแกรมเมอร์ Observers ผู้สังเกตการณ์
• ข้อดี เพื่อให้ Project เสร็จเร็วและตรงตามความต้องการของผู้ใช้และองค์กร
• ข้อเสีย - รวมคนยาก – เสียเวลาในการทำงานประจำ – ใช้เวลามาก
Prototyping Model
การทำ Prototypes มี 2 แบบ
1. Throw – away prototypes ได้แก่ prototypes ที่ทำให้ user มองเห็นภาพของระบบ เช่น หน้าจอ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องที่ Implement จริง ๆ ทำเสร็จยกเลิกไป โดยส่วนใหญ่ใช้ Desktop ทำ Prototypes
2. Evalutionary Prototypes เป็น Prototypes ใช้ทำงานกับSoftware และเครื่องที่ใช้งานจริง ส่วนมากใช้กับ user ที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน โปรแกรมอาจเสร็จทีละส่วน แล้วให้ user ทดสอบโดยไม่ต้องรอให้เสร็จทั้งหมด
ข้อดีของการทำ Prototypes
• เรียนรู้จาก Software จริง
• ช่วยสื่อสารระหว่าง user กับ Developer เพื่อทำให้ทราบว่างานก้าวหน้าไปถึงไหน
• user มีส่วนร่วมในการทำ
• ทำให้ Requirement ชัดเจน (ใช่หรือไม่ ที่ต้องการ)
• การ Test Prototypes ทำให้ Project สมบูรณ์
• ลดต้นทุนในการ Maintenance - user เคยเห็นแล้ว จะทำให้ลดต้นทุน , ค่าใช้จ่าย ในการ Maintenance ลงเหลือ 10-20 %ส่วนใหญ่ Maintenance ในส่วนของ Error
• ลดข้อจำกัดของ Feature ต่างๆ ในการทำงาน
• ทำให้เห็นผลลัพธ์ว่าเป็นอย่างไร
ข้อเสียของ Prototypes
- user เห็น Prototypes เข้าใจว่าเสร็จแล้ว มักต้องการรู้ว่าจะใช้ได้เมื่อไหร่
- ไม่มี Security , Response Time
- ควบคุมยาก เมื่อเห็นแล้ว user มักจะมีการเปลี่ยนแปลง Requirement
- เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำ Prototypes
- ประสิทธิภาพของจริงกับ Prototype ต่างกันได้ เช่น Prototypes เร็ว ของจริง ช้า , Prototypesช้าของจริงเร็ว
- user กับ Developer ไม่ได้อยู่ที่เดียวกันทำให้ไม่สะดวกในการทำPrototype
รูปแบบของการทำ Prototypes
• Mock – ups ทำหน้าจอให้เห็น แต่ใช้จริงไม่ได้ (ใช้อธิบาย)
• Simulated Interaction จำลองการใช้งานจริง เช่น การกรอกข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูล แต่ใช้งานจริงไม่ได้ (วิธีนี้นิยมมาก)
• Partial working Model แบ่งเป็น
- Vertical (ลึก) สามารถใช้งาน Feature บางส่วนได้จริง (ไม่ทั้งหมด) ใช้กับ Simulate
- Horizontal (กว้าง) มี Feature ครบ ทำให้ทราบว่ามี Feature อะไรบ้าง แต่ใช้งานไม่ได้ทั้งหมด (ไม่ลึก) ใช้กับ Mock – up
ข้อเสนอแนะในการทำ Prototypes
• ให้ user สามารถ Interface กับระบบได้
• ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของระบบ ควรทำให้ชัดเจน เพื่อให้ได้ Feature ครบ
ปัญหาของการทำ Prototypes คือ ควบคุมการเปลี่ยนแปลงยาก
