เชาวน์ปัญญา

เชาวน์ปัญญา คือความสามารถเฉพาะบุคคลในการที่จะคิดอย่างเป็นนามธรรม มีเหตุผล ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำประสบการณ์จากการเรียนรู้มาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ประเมินสถานการณ์ได้ใกล้เคียงตามความเป็นจริง ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย รวมทั้งมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

  ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเชาวน์ปัญญาของบุคคล

ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา

1. ทฤษฎีเอกนัยหรือทฤษฎีองค์ประกอบเดียว ผู้คิดทฤษฎีนี้ อัลเฟรด บิเนต์ มีความเห็นว่าว่าเชาวน์ปัญญาหมายถึงผลรวมของความสามารถหลายๆ ด้านของบุคคลที่มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมกันเข้าเป็นองค์ประกอบเดียว เรียกว่าองค์ประกอบทั่วไป ซึ่งไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ ซึ่งบิเนต์เชื่อว่าจะพัฒนาไปตามวุฒิภาวะของแต่ละบุคคล

2. ทฤษฎีสององค์ประกอบ ผู้คิดทฤษฎี ชาร์ลส์ อี. สเปียร์แมน เชื่อว่าเชาวน์ปัญญาของคนเราไม่น่าจะมีเพียงองค์ประกอบดียว แต่ควรประกอบขึ้นจากองค์ประกอบสองประเภทด้วยกันคือ

3. ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาของกิลฟอร์ด เจ.พี. กิลฟอร์ด เชื่อว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลมีโครงสร้างเป็นสามมิติ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านวิธีคิด และด้านผลที่ได้ ซึ่งทั้งสามมิติหรือสามด้านยังสามารถแยกองค์ประกอบย่อยได้อีกถึง 120 ส่วน

4. ทฤษฎีการจัดกลุ่มและอันดับ เวอร์นอน และเบิร์ต มีความเห็นว่าเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ประกอบด้วยองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายส่วน แต่ละส่วนจะมีขนาด ลักษณะ และคุณภาพที่แตกต่างกันๆ ไป

5. ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาของแคตเตลล์ ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญาโดยถือเอาอิทธิพลที่มีต่อพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาเป็นเกณฑ์ โดยเขาเห็นว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลแบ่งองค์ประกอบทั่วไปสองประเภทคือ

 

กลับไปหน้าจิตวิยา

 

หน้าหลัก บทเรียน ประวัติ เพื่อน