การจูงใจ

การจูงใจ คือ กระบวนการของการใช้ปัจจัยทั้งหลายที่จะทำให้บุคคลเกิดความต้องการเพื่อสร้างแรงขับและแรงจูงใจไปกระตุ้นร่างกายให้แสดงพฤติกรรมตามที่จุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้

ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ

สำหรับทฤษฎีการจูงใจแบ่งออกเป็น 6 ทฤษฎี ได้แก่

1. ทฤษฎีลดแรงขับ ดอลลาร์ด มิลเลอร์ และฮุลล์ ได้อธิบายทฤษฎีลดแรงขับโดยพิจารณาจาก พัฒนาการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์ที่เชื่อว่าเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะของการขาดความสมดุล เนื่องจากความต้องการขั้นต้นของร่างกาย เช่น ความหิว และเมื่อใดที่บรรลุเป้าหมายแรงขับก็จะค่อยๆลดลงและหมดไป

2. ทฤษฎีความต้องการ/แรงขับ/สิ่งล่อใจ อับราฮัม เอช. มาสโลว์ ได้อธิบายกระบวนการของการจูงใจไว้ว่า การจูงใจเกิดจากความต้องการของมนุษย์ซึ่งจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้น มี 5 ขั้นดังนี้

3. ทฤษฎีสิ่งเร้า สำหรับการจูงใจตามทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่สิ่งเร้าภายนอกมากกว่าความต้องการ ทฤษฎีสิ่งร้าว่าสิ่งเร้าและเป้าหมายนั้นมักจะเป็นสิ่งเดียวกัน

4. ทฤษฎีภาวะทางอารมณ์ เกิดจากแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการเกิดพฤติกรรมของบุคคลที่ว่า พฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมานั้นจะเกิดขึ้นเพื่อแสวงหาความสุข ความพึงพอใจให้กับตนเอง และหลีกเลิ่ยงสิ่งที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์และความไม่สบายใจ

5. ทฤษฎีการใช้สติปัญญา มีแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการจูงใจที่ว่า กระบวนการจูงใจเกิดจากการคาดคะเนผลของการแสดงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นไว้ล่วงหน้าว่าจะเป็นเช่นใด โดยการคาดคะเนนั้นจะต้องอาศัยการคิด การวิเคราะห์ และประเมินค่าจากพฤิตกรรมแบบเดียวกันที่เคยกระทำมาแล้วในอดีต

6. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซิกมันด์ ฟรอยด์ เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับสัญชาตญาณ สองชนิด ได้แก่ สัญชาตญาณแห่งการดำรงชีวิตอยู่ และสัญชาตญาณแห่งความตาย ทั้งสองสัญชาตญาณนี้ทำให้เกิดแรงขับที่จะผลักดันให้เกิดพฤติกรรมเพื่อไปสู่เป้าหมาย

 

กลับไปหน้าจิตวิยา

 

หน้าหลัก บทเรียน ประวัติ เพื่อน