การรับสัมผัส

กระบวนการที่เกิดขึ้นกับร่างกายภายหลังเมื่อมีสิ่งเร้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูป เสียง กลิ่น รส มากระตุ้นอวัยวะรับสัมผัส ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ทำให้ร่างกายเกิดความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา เช่น รู้สึกเห็น รู้สึกได้ยิน ได้กลิ่น รับรส รู้สึกถึงความร้อน หนาว เจ็บปวด

อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการรับสัมผัส

- นัยน์ตา หรือ จักษุสัมผัส ถือว่าเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเราใช้ตาในการมองถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของการรับสัมผัสทั้งหมด

- หู หรือ โสตสัมผัส หูเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่ใช้ในการรับเสียง

- จมูก หรือ ฆานสัมผัส จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสอีกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่รับกลิ่น ซึ่งเกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีของสิ่งเร้ารอบๆ ตัว

- ลิ้น หรือ ชิวหาสัมผัส เราสามารถรับรสชาติต่างๆ โดยอาสัยลิ้น รลชาติพื้นฐานมีอยู่ 4 รส ได้แก่ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม

- ผิวหนัง หรือ กายสัมผัส เป็นอวัยวะรับสัมผัสที่ไวต่อการรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าในรูปแบบต่างๆ เช่น แรงกด ความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด

การรับรู้

เป็นขั้นตอนหนึ่งที่เกิดภายหลังจากการเกิดกระบวนการรับสัมผัสขึ้นกับร่างกาย คือ เมื่อสิ่งเร้าทั้งหลายมากระตุ้นอวัยวะรับสัมผัส เช่น ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง เซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่รับพลังงานจากสิ่งเร้าจะเปลี่ยนพลังงานนั้นให้เป็นกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังสมองเขต ต่างๆ ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น

กลับไปหน้าจิตวิยา

 

หน้าหลัก บทเรียน ประวัติ เพื่อน